Sub Navigation Links

webmaster's News

กทม. แชมป์ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงานสูงสุด



กทม. แชมป์ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงานสูงสุด



กทม. แชมป์ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงานสูงสุด

สปส. เผย ปี 2555 ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุในการทำงานกว่า 1.2 แสนราย เตือนนายจ้าง หากลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ให้รีบส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทน

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า จากสถิติข้อมูลลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานปี 2555 ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 129,891 ราย พบจังหวัดที่มีลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงานสูงสุด คือ กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 38,632 ราย รองลงมา คือ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 21,880 ราย และจังหวัดชลบุรี จำนวน 11,006 ราย

ส่วนสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 1,000 คน มีสถิติประสบอุบัติเหตุสูงสุด คือ 25,502 ราย รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 201-500 คน จำนวน 20,194 ราย และสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 21-50 คน จำนวน 18,019 ราย ตามลำดับ ในประเภทกิจการที่ประสบอันตรายสูงสุดคือ ประเภทกิจการก่อสร้าง (คือ 8,773 ราย) รองลงมา คือ การค้าเครื่องไฟฟ้ายานพาหนะฯ (จำนวน 7,477 ราย) และการผลิตเครื่องดื่ม อาหาร ฯลฯ (จำนวน 7,294 ราย) ส่วนกรณีที่ลูกจ้างประสบเหตุจนสูญเสียอวัยวะสูงสุดคือ นิ้วมือ จำนวน 28,640 ราย รองลงมาคือ ตา จำนวน 22,959 ราย และบาดเจ็บหลายส่วน จำนวน 9,862 ราย

นายจีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า สปส.ขอเตือนนายจ้าง หากลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน นายจ้างมีหน้าที่ต้องแจ้งการประสบอุบัติเหตุ ตามแบบแจ้งการประสบอันตรายเป็นอันดับแรกหากเจ็บป่วย หรือสูญหาย พร้อมคำร้องขอรับเงินทดแทน (กท.16) และสำเนาแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) ส่งให้สำนักงานประกันสังคมที่นายจ้างขึ้นทะเบียนไว้ภายใน 15 วัน และส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน โดยที่นายจ้างไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาล่วงหน้า

“การส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล นายจ้างควรพิจารณาถึงมาตรฐานการรักษาและการคิดค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมตามความจำเป็นของสถานพยาบาลนั้นๆ เพราะหากการประสบอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจำเป็นแต่สถานพยาบาลเรียกเก็บค่ารักษาเกินเพดานที่กฎหมายกำหนดจะทำให้มีค่ารักษาส่วนเกิน ซึ่งต้องตกเป็นภาระของลูกจ้างและนายจ้างที่ต้องรับผิดชอบค่ารักษานั้นโดยเฉพาะที่นายจ้างจะต้องถูกเรียกเก็บอัตราค่าประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนตามปกต ิ” นายจีรศักดิ์ กล่าว

สำหรับวงเงินค่ารักษาพยาบาลสามารถเบิกได้ตามกฎกระทรวงกำหนด อัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551 โดยเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 45,000 บาท หากมีความรุนแรงตามที่กำหนดกฎกระทรวงฯ สามารถเบิกเพิ่มได้อีก 65,000 บาท และสูงสุดในวงเงินไม่เกิน 300,000 บาท หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศที่สะดวก หรือ โทร.1506

ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  2nd Sep 13

จำนวนผู้ชม:  37915

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง