Sub Navigation Links

webmaster's News

สกู๊ปหน้า 1: ไวรัล...ที่ไม่จริงน่ากลัวกว่าไวรัส



สกู๊ปหน้า 1: ไวรัล...ที่ไม่จริงน่ากลัวกว่าไวรัส



ประกาศๆ ข่าวที่สื่อไทยบางสำนักลงว่า"พ่อเมืองอู่ฮั่นยอมรับว่า มีคน 5 ล้านคนออกจากอู่ฮั่นก่อนปิดเมืองส่วนใหญ่มาไทย" ไม่จริงนะครับ

สื่อทางการจีนตรวจสอบข้อมูลเดินทางจาก Baidu (คล้ายๆ Google ของคนจีน) พบว่าประมาณ 60-70% ของ 5 ล้านคนนี้เดินทางไปมณฑลและเมืองรอบข้างอู่ฮั่น เช่น เหอหนาน หูหนาน อันฮุย ฉงชิ่ง ฯลฯ

อีก 13% เดินทางไปเมืองหวงกังและเซียวกัง นับว่าเป็นเมืองที่คนอู่ฮั่นเดินทางไปมากที่สุด ประมาณ 2% เดินทางกลับบ้านเกิดที่เมืองไกลๆอย่างปักกิ่ง กวางเจา และเสิ่นเจิ้น เป็นต้น

แล้วมาไทยกี่คน? CGTN รายงานว่า จำนวนคนอู่ฮั่นที่เดินทางมาไทยก่อนปิดเมืองจนถึงปิดเมือง หรือตั้งแต่ช่วง 30 ธ.ค. จนถึงวันที่ 22 ม.ค. มีจำนวนไม่เกิน 10,000 คนครับ

หรือคิดเป็น 0.2% ของคน 5 ล้านคนเท่านั้น

https://news.cgtn.com/news/2020-01-27 /5-million-people-left-Wuhan-before-the-lockdown-where-did-they-go--NACCu9wItW/index.html

"Teeranai Charuvastra" ถึงสมาคมชาวไทยเชื้อสายจีนแห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กถูกแชร์ส่งต่อๆกันมาให้อ่านเป็นสาธารณะมีสาระสำคัญเกี่ยวโยงถึงข้อเท็จจริงหลายประเด็นเกี่ยวกับการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาอู่ฮั่น (17 ชั่วโมงผ่านมาแล้ว เช้าวันที่ 30 มกราคม 2563)

บันทึกประวัติศาสตร์ "โรคอุบัติใหม่" ในประเทศไทย แชร์ไว้ในโลกออนไลน์ฝากไว้เป็นอีกความรู้ติดสมอง เริ่มนับหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ.2500 "ไข้เลือดออก"

พ.ศ.2513 ไข้ปวดข้อยุงลาย พ.ศ.2523 วัณโรคดื้อยา พ.ศ.2527 เอชไอวี พ.ศ.2530 อหิวาตกโรค พ.ศ.2537 กาฬโรค พ.ศ.2542 ไวรัสนิปาห์ พ.ศ.2543 Antimicrobial resistant bacteria พ.ศ.2545 แอนแทรกซ์ พ.ศ.2546 ซาร์ส พ.ศ.2547 ไข้หวัดนก H5N1 พ.ศ.2552 ไข้หวัดใหญ่ H1N1 พ.ศ.2555 เมอร์ส พ.ศ.2557 อีโบลา แอฟริกาตะวันตก พ.ศ.2558 เมอร์ส เกาหลีใต้ พ.ศ.2559 ไวรัสซิกา

และ...โรคอุบัติใหม่ล่าสุดยุคปัจจุบัน พ.ศ.2562-2563 ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ "ไวรัสอู่ฮั่น"

ประเด็นสำคัญท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้จึงมีว่า "ไวรัลที่ไม่จริง...น่ากลัวยิ่งกว่าไวรัส"

"ไวรัล" ก็คือ การสื่อสารปากต่อปาก ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรืออื่นๆ หากมีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นกระแสจะถูกพูดถึง แชร์ส่งต่อไปทุกๆที่อย่างรวดเร็ว

 ...เป็นการรวมกันของ 2 คำ...คำว่า "ไวรัส" ที่หมายถึงเชื้อโรคการแพร่กระจาย กับคำว่า "ออรัล" ที่แปลว่าปาก

เฟซบุ๊ก "ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr .Suvit Maesincee " รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โพสต์ลงรายละเอียดไว้ว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค.63 ได้จัดการประชุมระดมสมองเพื่อป้องกันและรับมือการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (nCoV 2019)

 มีการหารือรวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสและระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยในสังกัด อว. พร้อมด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

"ผมขอให้ทุกท่านตระหนักถึงการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ แต่ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป โดยขอให้ทุกท่านศึกษาและติดตามข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่าไวรัสคือไวรัลที่ไม่เป็นความจริง ก่อให้เกิดความสับสน"

ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์คือ "ไวรัสโคโรนา" ติดต่อผ่าน "droplets" หรือสารคัดหลั่งจากร่างกาย เช่น เสมหะหรือน้ำลาย ดังนั้น การเดินผ่านไปมาหรือพูดคุยกันจะไม่ทำให้ติดเชื้อไวรัส การป้องกันตัวที่ง่ายที่สุดคือการใช้หลัก "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้อื่น

นอกจากนี้ อว. ยืนยันให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการจัดตั้งวอร์รูมที่กระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งได้สั่งการให้เดินหน้าในการวิจัยเชิงรุกเรื่องนี้ต่อไป พันธกิจสำคัญของ อว.อีกประการหนึ่งคือการสนับสนุนการวิจัยของประเทศ ซึ่งได้มอบนโยบายให้เร่งดำเนินการวิจัยในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การศึกษาทางพันธุกรรมของไวรัส และ การแพร่ระบาด

การผลิตชุดตรวจ เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ...รวดเร็ว การผลิตยารักษาโรค รวมไปถึงการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสไปจนถึงการสร้าง วัคซีน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาระยะยาวต่อไป

สถานการณ์การระบาดของ "ไวรัสโคโรนา (2019-nCoV )" ที่มีแหล่งเริ่มต้นจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน มีการติดเชื้อและความรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตหลายสิบราย ทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า

การติดเชื้อจะใช้เวลา 2-3 วัน กว่าจะเริ่มมีอาการป่วยเป็นไข้การระบาดโรคนี้ค่อนข้างง่าย เพราะติดต่อผ่านการหายใจและการสัมผัสผ่านสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็นฝอยละอองต่างๆ ที่มาจากร่างกายของผู้ติดเชื้อ และมีหลักฐานชัดเจนว่า มีผู้ป่วยหรือผู้ได้รับเชื้อได้เดินทางเข้ามาประเทศไทย

อีกประเด็นที่เรามีความห่วงใยเช่นกันคือปัจจุบันมีนักศึกษาจีน มาศึกษาต่อในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา จึงเห็นสมควรดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้

หนึ่ง...นักศึกษาจีนที่เดินทางกลับบ้านที่ประเทศจีนในช่วงตรุษจีนและยังไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย ขอให้นักศึกษาจีนเหล่านั้นพำนักอยู่ในประเทศจีนต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์

"ขอให้มหาวิทยาลัยติดต่อกับนักศึกษาเหล่านั้นเพื่อแจ้งกำหนดการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยควรจัดการสอนเสริมให้กับนักศึกษา หลังจากที่เดินทางกลับมาแล้ว"

สอง...สำหรับนักศึกษาจีนที่พำนักในประเทศไทยและไม่ได้เดินทางกลับประเทศจีนในช่วงตรุษจีนนั้น ขอให้มหาวิทยาลัยประสานกับนักศึกษาเหล่านั้นเพื่อขอให้หลีกเลี่ยงการพบปะกับคนที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศจีน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะติดเชื้อดังกล่าว

สาม...นักศึกษาที่มีไข้หรือมีอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ ต้องรายงาน พาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ไม่ควรรักษาตัวเองและควรดูแลอย่างใกล้ชิด มิให้ไปแพร่เชื้อต่อไป

สี่...กิจกรรมที่มีการชุมนุมนักศึกษาจำนวนมาก และอาจมีนักศึกษาต่างชาติร่วมด้วย ควรพิจารณาทบทวน

ห้า...ขอให้สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยช่วยเก็บข้อมูลนักศึกษา...เฝ้าระวังตามหลักระบาดวิทยา

รู้ให้กระจ่าง...ทำความเข้าใจเสริมความรู้ป้องกันตัวให้ปลอดภัยจาก "ไวรัสร้าย"..."ไวรัสโคโรนา (2019-nCoV )" ตื่นตัวเข้าไว้แต่อย่าตื่นตูม

อย่าให้ "ไวรัลที่ไม่จริง...สร้างความน่ากลัวยิ่งกว่าไวรัส".

ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์คือ "ไวรัสโคโรนา" ติดต่อผ่าน "droplets" หรือสารคัดหลั่งจากร่างกาย เช่น เสมหะหรือน้ำลาย ดังนั้น การเดินผ่านไปมาหรือพูดคุยกันจะไม่ทำให้ติดเชื้อไวรัส การป้องกันตัวที่ง่ายที่สุดคือการใช้หลัก "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้อื่น


ที่มา : ไทยรัฐ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  11th Feb 20

จำนวนผู้ชม:  34481

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง