Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ สาระสุขภาพ: มะตูมไทยดูแลตับ มะตูมซาอุดูแลหัวใจ



คอลัมน์ สาระสุขภาพ: มะตูมไทยดูแลตับ มะตูมซาอุดูแลหัวใจ



ที่มา: ไทยโพสต์

มะตูมเป็นทั้งผลไม้และยาสมุนไพรที่คนไทยใช้ในชีวิตประจำวันมาเนิ่นนาน สืบค้นในฐานข้อมูลพบว่ามะตูมเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aegle marmelos  (L.) Corr. จัดอยู่ในวงศ์ Rutaceac ถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นตัวแทนของพระอิศวร และตามความเชื่อในเรื่องการปลูกต้นไม้ตามทิศ กล่าวว่า ปลูกมะตูมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน จะช่วยป้องกันเสนียดจัญไร และเป็นมงคลนามให้ผู้อยู่อาศัยมีชื่อเสียงเรียงนามดังตูมตามลือเรื่อง

มะตูมมีหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่เคยเป็นที่ถกเถียงกันมาแล้วว่ามีอยู่จริงหรือไม่ หรือเป็นไม้ชนิดอื่นกันแน่ ในตำรายาไทยมักกล่าวถึงเสมอคือ มะตูมนิ่ม ซึ่งปัจจุบันได้พบแล้วว่ามะตูมนิ่มมีอยู่จริง แต่เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างหายาก ลักษณะทั่วไปเหมือนมะตูมเปลือกแข็งนี่แหละ แต่มะตูมนิ่มจะมีเปลือกนิ่มกว่า แม้ว่าเอาไปตากแดดจนแห้งแล้ว ลองจับดูยังพบว่านิ่มเหมือนเดิม มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง ขับลม และเจริญอาหาร ตนเองแก่เฒ่าไปมาก แต่แม่กลับสาวสดใสขึ้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาจวบปัจจุบัน

อาจารย์เนตรดาว ยวงศรี หมอแผนไทย คลินิกแพทย์แผนไทยเนตรดาว อธิบายเรื่องของมะตูมนิ่มว่า การที่มะตูมนิ่มเนื่องมาจากเพราะขาดธาตุแมงกานีส จึงทำให้สร้างเปลือกแข็งไม่ได้ จึงมีลักษณะของความพิการเปลือกนิ่มอย่างที่ปรากฏ

ผลมะตูมสุกมีกลิ่นหอมชื่นใจ ผลอ่อน รสฝาดร้อนปร่าขื่น ฝานตากแดดให้แห้ง แล้วบดเป็นผง หรือต้มรับประทานแก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้โรคกระเพาะอาหาร เจริญอาหาร ขับผายลม บำรุงกำลัง ผลแก่ แก้เสมหะและลม บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมผาย และช่วยเจริญอาหาร เนื้อในผลสุก รสหวานเย็น ต้มดื่มหรือเอาเนื้อรับประทาน แก้ลมเสียดแทงในท้อง แก้มูกเลือด บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลมหืดหอบ ไอ

ชาวบ้าน นิยมใช้ยอดอ่อนและผลอ่อนเป็นผักแกล้มน้ำพริก ลาบก้อย ใบ มีรสฝาดปร่าขื่นมัน แก้ปวดศีรษะ ตาลาย ลดความดันโลหิตสูง ผลสุกนิยมทานเนื้อในเป็นผลไม้รสชาติอร่อย หรือฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแห้งใช้ต้มทำน้ำมะตูม หรือทำชา เป็นที่นิยมมาก ส่วนใบนิยมรับประทานเป็นผักสด  ใบ รสปร่าขื่นมัน แก้หลอดลมอักเสบ แก้หวัด แก้ตาเจ็บ แก้เยื่อตาอักเสบ แก้เลือดเป็นพิษ แก้ไข้ แก้หืด แก้เสมหะเหนียว แก้บวม แก้ลงท้อง แก้ฝีเป อยพัง บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เสมหะ แก้มูกเลือด แก้กระหายน้ำ   ข้อมูลของอินเดียระบุไว้ว่า สารสกัดจากใบมะตูมช่วยทำให้เนื้อตับและไตที่ผิดปกติเนื่องจากภาวะของเบาหวานกลับคืนสู่ภาวะใกล้เคียงปกติ และช่วยในการฟื้นฟูของตับอ่อนที่ถูกทำลาย ซึ่งสอดคล้องกับสรรพคุณที่ทางยาไทยใช้มะตูมเป็นยาสมุนไพรบำรุงไฟธาตุ บำรุงน้ำดี

ส่วนมะตูมอีกชนิดที่เรียกกันว่า มะตูมซาอุ มียอดอ่อนวางจำหน่ายตามท้องตลาด คือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Schinus terebinthifolius วงศ์ Anacardiaceae จัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกับมะม่วง มะตูมซาอุเป็นพรรณไม้นำเข้าจากตะวันออกกลางโดยแรงงานไทย โดยคนไทยไปทำงานที่นั่นคงคุ้นเคยกับการกินผักกับอาหาร ก็ทดลองหาพืชพันธุ์ที่ตนเองกินได้ และพบว่าไม้ชนิดนี้กินอร่อย มีกลิ่นหอม จึงพาติดมือกลับมาบ้านด้วย  และด้วยลักษณะที่อาจคล้ายกับมะตูม จึงเรียกกันว่ามะตูมซาอุ ตามแหล่งที่นำกลับมา ส่วนลำต้นคล้ายมะแขว่น ผลคล้ายเมล็ดพริกไทย

มะตูมซาอุเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองแถบอเมริกาใต้ และมีบันทึกการใช้ประโยชน์ด้านอาหารและยามากมาย โดยเฉพาะเป็นไม้ที่มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา และพบรายงานทางวิทยาศาสตร์ว่าสารสกัดของมะตูมซาอุช่วยลดการอักเสบ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาโรคความดันต่ำ แก้ท้องผูก กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อและรักษาบาดแผล

ชนพื้นเมืองในอเมริกาใต้ใช้เป็นยาสมานแผล ต้านแบคทีเรียและไวรัส หรือใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ชาวบราซิล ใช้เปลือกทำเป็นชาชงดื่มแก้อาการท้องผูก แต่ถ้านำทั้งเปลือกและใบรวมกันทำเป็นชาใช้กระตุ้นแก้อาการซึมเศร้า

ในอาร์เจนตินาใช้ใบแห้งต้มดื่มเพื่อให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ และเสริมการทำงานของระบบทางเดินหายใจและท่อทางเดินปัสสาวะ ใช้เป็นยาป้องกันการติดเชื้อ

เปรูใช้น้ำยางจากต้นเป็นยาระบายอ่อนๆ และใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนทั้งหมดของต้นใช้เป็นยาปฏิชีวนะ น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบใช้เป็นยารักษาแผล ช่วยในการหยุดเลือด รักษาอาการปวดฟัน

ในแอฟริกาใต้ใช้ใบเป็นชาดื่มแก้หวัด และนำใบมาต้มสูดดมแก้หวัด ลดอาการซึมเศร้าและหัวใจเต้นไม่ปกติ

ส่วนของเปลือกนำมาต้มดื่มครั้งละครึ่งถ้วย วันละ 2 ครั้ง หรือใช้ใบแช่น้ำให้ดื่มครั้งละครึ่งถ้วย โดยกิน 2 วันต่อครั้ง แต่ถ้าเตรียมเป็นยาดองให้รับประทานครั้งละ 2-3 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้งลดอาการปวด ทำลายเซลล์มะเร็ง ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการชักกระตุก ทำลายเชื้อไวรัส กระตุ้นการย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ และกระตุ้นการขับประจำเดือน

ปัจจุบันชาวบ้านในภาคอีสานจะปลูกมะตูมซาอุไว้ริมรั้วประจำถิ่นอีกชนิดหนึ่ง นิยมแกล้มกับลาบก้อย ดับกลิ่นและเพิ่มรสชาติของอาหาร ทั้งมะตูมดังเดิมที่เรารู้จัก หรือมะตูมซาอุ ต่างก็มีบทบาทในอาหารจานผักของชาวบ้านทั้งคู่ และเป็นยาสมุนไพรที่มีประโยชน์ยิ่งด้วย.

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  8th Jan 20

จำนวนผู้ชม:  35820

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว