Sub Navigation Links

การกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Public Scoping)

Facebook


สัมมนาวิชาการ การกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Public Scoping) : ปัญหาหรือความท้าทายของสังคมไทย” HIA ไม่ใช่ฉุดการพัฒนา แต่เป็นกระบวนการที่ร่วมกันพัฒนาให้โครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ ส่งผลดีต่อสุขภาวะ กระตุ้นทำให้เกิดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม
วานนี้ (24 มิถุนายน 2553) ศูนย์ประสานงานพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA-Co Unit) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดการสัมมนาวิชาการ การกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Public Scoping) : ปัญหาหรือความท้าทายของสังคมไทย”เปิดการสัมมนาโดย นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไก
จากนั้นมีการเสวนาเรื่อง บทเรียนของสังคมไทยในการทำ Public Scoping โดยผู้ที่มีประสบการณ์และเกี่ยวข้อง ได้แก่ รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล ศูนย์วิจัยและปฏิบัติการอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นายเสขสิริ ปิยะเวช ผู้จัดการฝ่ายคุณภาพความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด มหาชน นางสุชญา อัมราลิขิต ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางสิริวรรณ จันทนจุลกะ ผอ.กองประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรมอนามัย อ.ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไก HIA สช. นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
อ.ดร.เดชรัต สุขกำเนิด กล่าวว่า หลังจากที่ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้บัญญัติให้มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ในประเทศไทย โดยมุ่งให้เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม ในการตัดสินใจทางนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพที่ดีต่อสุขภาวะของทุกคน ประกอบกับเรื่อง HIA ได้รับการบัญญัติไว้ในมาตรา 67 เพื่อปกป้อง คุ้มครอง สุขภาพของประชาชนจากผลกระทบทางลบที่อาจเกิดจากโครงการและกิจกรรมต่างๆ
ที่ผ่านมามีหน่วยงาน องค์กร นักวิชาการ และภาคประชาชน ได้มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมการทำ HIA มาบ้างแล้ว ดังนั้นเวทีวันนี้จึงจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยเน้นในขั้นตอน การกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ (Public Scoping) เพราะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความเห็นว่าจะให้ศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพใน แง่มุมต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมในทุกๆ ประเด็นที่มีความกังวลและห่วงใยว่าอาจจะเกิดผลกระทบขึ้นได้หากมีโครงการหรือ กิจกรรมใดๆ เข้ามาดำเนินการ
แต่ที่ผ่านมาอาจจะยังมี องค์ความรู้ในเรื่องนี้ยังไม่เพียงพอนักในสังคมไทยที่เพิ่งเริ่มมีการทำ HIA ดังนั้นคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไก HIA ซึ่งมีนายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ เป็นประธาน ได้มอบหมายให้ทางศูนย์ประสานงานพัฒนาระบบและกลไก HIA จัดการสัมมนาวิชาการนี้ขึ้นมา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำ Public Scoping จากทั้งบริษัทที่ปรึกษา ผู้ประกอบการ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งนักวิชาการด้วย เพื่อช่วยกันสร้างองค์ความรู้ด้านนี้ให้มากขึ้น และเหมาะกับบริบทของสังคมไทย
ทีมา http://prachatai.com/journal/2010/06/30089

login to rate

0 ความนิยม

แจ้งวีดีโอไม่เหมาะสม

เพิ่มวีดีโอที่ชื่นชอบ

จำนวนผู้เข้าชม:  3746

ความคิดเห็น:  0

เพิ่มวีดีโอที่ชื่นชอบแล้ว:  0

Links:0

ไม่พบวีดีโอที่ค้นหา

join INDIA MAFIA CYBER for a free account, or ล็อคอิน if you are already a member

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่:   7 กรกฎาคม 2553

หมวด:   การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ - Health Impact Assessment (HIA)