การมีพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะที่พลเมือง สามารถเข้าถึงได้โดยปราศจากความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจและสังคมในเขตเมืองเป็นนโยบายสาธารณะ สำคัญที่หน่วยงานและทุกภาคส่วนควรขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งการสนับสนุนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ กลไกและ มาตรการ เพื่อให้ทุกเขตเมืองเกิดแผนการสร้างสรรค์ พื้นที่สาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนและ เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม
แม้ทุกวันนี้กระแสการดูแลสุขภาพทั้งการ ระวังเรื่องอาหารการกินและการออกกำลังกายจะเป็นที่นิยมในหมู่คนทุกเพศทุกวัย แต่ในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะ กรุงเทพมหานคร ภาพผู้คนจำนวนมากที่ไปรวมตัวกันอยู่ ตามห้างสรรพสินค้าในวันหยุดก็ยังคงมีให้เห็นกันจน ชินตา...ทำไมเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครจึงไม่มีพื้นที่ เช่นสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานชุมชน ลานกีฬา ที่ผู้คนสามารถเข้าถึงและสามารถเข้าไปใช้ทำกิจกรรมได้อย่างเพียงพอ
การร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อสุขภาวะสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เป็น 1 ใน 4 นโยบายสาธารณะที่ได้รับฉันทมติให้สานต่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 11 หลังจากที่ประเด็นนี้ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง ในเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะหลายต่อหลายครั้ง ในขณะที่ผู้คนในเมืองต้องใช้ชีวิตประจำวัน วนเวียนเข้าออกในตึกสูง พื้นที่อาคารสำนักงานจำกัด คับแคบ ถนนหนทางที่ต้องเบียดเสียดแต่กลับมีพื้นที่ว่าง เปล่ามากมายทั้งของภาครัฐและเอกชนถูกปล่อยทิ้ง รกร้างไร้ประโยชน์ ซึ่งการจะผลักดันให้เกิดนโยบายและ กลไกในการปรับเปลีี่ยนพื้นที่เหล่านั้นให้กลายมาเป็นพื้นที่ สาธารณะที่เป็นประโยชน์กับชุมชนและเมืองเป็นภารกิจร่วมสำคัญของเราทุกคน เพราะคำว่าสาธารณะในที่นี้ไม่ใช่ของ คนใดคนหนึ่ง แต่หมายถึงการที่เราจะได้ใช้ประโยชน์ร่วม กันเพื่อสร้างสุขภาวะสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน