วันที่ ๒ ของการประชุม (๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗)
ช่วงที่ ๓: ระบบยา การเข้าถึงยา การคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ประธาน: น.พ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล
ผู้อภิปราย: น.พ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ และผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
๑) ประเด็นจากการค้าเสรีที่มีผลกระทบต่อระบบยา
และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องในการเจรจาการค้าเสรี
โดย รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์
๒) ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (IP related)
โดย ผู้แทนจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา
๓) ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมที่ไม่ใช่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (non-IP related)
โดย ผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง
การนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องและอภิปราย (panel discussion)
๑) การคาดการณ์ผลกระทบเพื่อการเตรียมการรองรับการเจรจา:
การขยายระยะเวลาสิทธิบัตร การให้สิทธิผูกขาดด้านข้อมูลยา
และการถ่ายทอดเทคโนโลยี มาตรการข้ามแดน และการบังคับใช้กฎหมายสิทธิบัตร
รวมถึง การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
โดย รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์, คณะเภสัชศาสตร์ และ
ดร.ภญ.ชุติมา อรรคลีพันธุ์, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
อภิปรายช่วงที่ ๑ ITH-NCITHS24/02/2014 3
๒) ปัญหา กรณีศึกษาระหว่างประเทศ และแนวทางการแก้ปัญหา
การสาธารณสุข นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และการค้า:
จุดร่วมและแผนยุทธศาสตร์โลกด้านการสาธารณสุข นวัตกรรม
และทรัพย์สินทางปัญญา
โดย Dr. Manisha Shridha, WHO-SEARO
กลไกใหม่สำหรับการแบ่งปันประโยชน์เพื่อการสาธารณสุข: กรณีศึกษาเรื่อง
กรอบการเตรียมการสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
โดย Dr. Nima Asgari, WHO Thailand
อภิปรายช่วงที่ ๒
ถาม-ตอบ จาก ผู้อภิปราย และผู้เข้าร่วมประชุม
ช่วงที่่ 3 ระบบยา การเข้าถึงยา และการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา และประเด็นอื่นที่เกียวข้องในการเจรจาการค้าเสรี
ระบบยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสุขภาพ เป็นที่คาดการณ์ว่าการได้รับผลกระทบจากการค้าเสรีกับประเทศพัฒนาแล้ว จะมีผลกระทบต่อระบบยาเนื่องจากประเด็นเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการผูกขาดลาดและการจำกัดการแข่งขันของยาสามัญและยาต้นแบบ ส่งผลให้ไม่สามารถที่จะลดราคายาลงได้เมหือนในกรณีที่มีการแข่งชัน และราคายังอาจจะเพิ่มขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังค่าใช้จ่ายในระบบยาและระบบสุขภาพโดยรวม นอกเหนือจากด้านต่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะส่งผลต่ออุตสาหรรมยาสามัญทั้งในและต่างประเทศซึ่งจะถูกจำกัดความสามารถ และอิสระในการผลิตและการจำหน่าย สำหรับประเด็นอื่นไ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบยา เช่น การจัดหา(จัดซื้อและจัดจ้าง) โดยรัฐ ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้สิทธิการแข่งขันกับประเทศคู่ภาคีในการจัดหาที่เท่าเทียบกับผู้ผลิตจำหน่ายในประเทศของตนเอง ในด้านดีรัฐในฐานะผู้จัดหาน่าจะได้สินค้าหรือ บริการที่ีดีในราคาที่่มีการแข่งขัน สำหรับสนิค้าและบริการของประเทศคู่ภาคี แต่ในขณะเดียวกัน รัฐในบทบาทที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าและบริการของคนไท จะไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นได้อีก
นอกเหนือจากประเด็นผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากความตกลงการค้าเสรีที่มีต่อการเข้าถึยา และระบบยาของประเทศคู่สัญญาที่มีศักยภาพน้ยอกว่าคู่เจรจาอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ห้วข้อนี้ยังจะกล่าวถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาของประเทศสมาชิกและองค์การอนามัยโลกซึ่งเป็นองค์กรกลางที่รับผิดชอบ ด้านสุขภาพของประชากรต่างๆ ทั่วโลก โดยมีตัวอย่างจากการทำแผนยุทธศาสตร์โลกด้านสาธารณสุข นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา และ กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาเรื่องการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดใหญ่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอานาคตด้วย