การกำกับดูแลสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสุราและยาสูบ
การกำกับดูแลสื่อและการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นิยามที่เกี่ยวข้อง
๑. สื่อ หมายถึง
ช่องทางและเครื่องมือในการสื่อสารผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค สำหรับช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อมวลชน
สื่อชุมชน สื่อบุคคล สื่อกิจกรรม สื่อกลางแจ้ง สื่อ ณ จุดขาย สื่อเฉพาะกิจ
รวมถึงสื่อออนไลน์ (digital media/social network/mobile media) และอื่นๆ
ส่วนเครื่องมือในการสื่อสาร ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์
การใช้พนักงานขาย การส่งเสริมการขาย การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมกีฬา ดนตรี
หรือ กิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ตลอดจนการตลาดทางตรง
ช่องทางและเครื่องมือเหล่านี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแล อาทิ
องค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลสื่อตามกฎหมาย องค์กรวิชาชีพสื่อ
องค์กรวิชาชีพประชาสัมพันธ์ องค์กรวิชาชีพโฆษณา องค์กรวิชาชีพการตลาด ฯลฯ
รวมทั้งผู้ประกอบการสื่อทั้งผู้ผลิตเนื้อหา
ผู้วางแผนการเผยแพร่และผู้ให้บริการเนื้อหา
๒. การสื่อสาร หมายถึง
กระบวนการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ซึ่งมีการวางแผนทั้งเนื้อหาและวิธีการสื่อสารอย่างเป็นระบบ
ผ่านช่องทางและเครื่องมือการสื่อสารที่หลากหลาย
เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน
เพื่อสร้างกระแสการรับรู้ การจดจำตราสินค้าและชื่อองค์กร
เพื่อเปลี่ยนทัศนคติ สร้างแรงจูงใจในการบริโภคหรือซื้อสินค้า
และเพื่อสร้างความภักดีต่อตราสินค้าและองค์กร
สถานการณ์
๓. ข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่า
สื่อและเทคโนโลยีเข้ามาครอบ งำชีวิตเด็กและเยาวชนไทยมากขึ้น
และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี สภาพการณ์ดังกล่าว
ส่งผลให้สื่อมีอิทธิพลต่อการเผยแพร่แนวคิด ความเชื่อ พฤติกรรม
และการกระทำต่างๆ ในสังคมบริโภคนิยม โดยเฉพาะการโฆษณา
และการสื่อสารการตลาดที่กลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการกระตุ้นและกำหนด
แบบแผนการบริโภคสินค้าต่างๆ ของคน ในสังคม[๑]
๔.
การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเป็นช่องทางที่สำคัญในการขยายขนาดของตลาด
ผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
โดยเฉพาะการกระตุ้นความอยากรู้อยากลอง
ความตั้งใจที่จะบริโภคและการตัดสินใจซื้อ
รวมถึงทัศนคติว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็น
เรื่องปกติของสังคม
งานวิจัยหลายชิ้นได้นำมาสู่ข้อสรุปที่เป็นไปไ ด้ในเชิงทฤษฎีว่า
การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพิ่มโอกาสในการเริ่มต้นสูบหรือดื่ม
ในกลุ่มเยาวชนหน้าใหม่ และเพิ่มปริมาณการบริโภคในกลุ่มเยาวชนที่สูบหรือดื่ม
อยู่แล้ว ทั้งนี้
ยิ่งสะสมการรับรู้การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่อง
ดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาที่ยาวนานขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะดื่มหรือสูบมากขึ้น
๕. ข้อมูลทางวิชาการแสดงให้เห็นว่าเด็กและเยาวช นไทย คือ
เป้าหมายทางการตลาดในการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทั้งนี้เพราะกลุ่มธุรกิจยาสูบต้องการผู้บริโภครายใหม่ๆ
ทดแทนผู้บริโภคหน้าเก่าหรือทดแทนผู้ใหญ่ที่เลิกสูบบุหรี่หรือผู้ สูบบุหรี่
ที่เสียชีวิตไปแล้ว[๒]
เช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ
ผู้บริโภคในวัยหนุ่มสาว
เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีปริมาณการบริโภคสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น
จนเป็นแหล่งสร้างผลกำไรสำคัญและผลประโยชน์จากการดื่มในระยะยาว[๓] นอกจากนี้
มีข้อมูลว่า
เนื่องด้วยจำนวนผู้สูบบุหรี่และผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศพัฒนาแล้วลดลง
ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญทางการตลาดของกลุ่มธุรกิจยาสูบและแอลกอฮอล์
กลายเป็นผู้บริโภคในกลุ่มประเทศโลกที่สามแทน
๖.
การศึกษาและติดตามงบโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใช ้ในสื่อต่างๆ
ของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สะท้อนว่า
งบประมาณโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยทุกสื่อได้ลดลงอย่างนัยยะ
สำคัญหลังจากมี พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ จากปีละ
๒,๑๘๗ ล้านบาท เหลือ ๑,๖๐๐
ล้านบาทแต่ในการลดลงของงบประมาณโฆษณาผ่านสื่อมวลชนนั้น
กลับพบว่าใช้งบประมาณเพิ่มมากขึ้นในสื่อดิจิทัล[๔] โดยในปี ๒๕๕๕
กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้เงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล เป็นจำนวนถึง
๑๔๕ ล้านบาท
และคาดการณ์ว่าจะมีการใช้งบประมาณผ่านสื่อนี้มากขึ้นเรื่อยๆ[๕]
๗.
งบประมาณการโฆษณาและการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในประเทศไทยในแต่ละปีมี
การเพิ่มงบประมาณโฆษณาทางอ้อมมากขึ้น กล่าวคือ ในระหว่างปี ๒๕๕๒ ถึง ๒๕๕๕
เพิ่มจาก ๑๕๕ ล้านบาทเป็น ๔๒๖ ล้านบาท[๖]
ซึ่งจำนวนงบประมาณโฆษณามูลค่ามหาศาลนี้ ไม่เพียง
ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพและสังคมทั้งในทางตรงและทางอ้อมในปริมาณมหาศาลเท่า
นั้น หากองค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า[๗]
เพราะการใช้กลยุทธ์การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดของกลุ่มธุรกิจยาสูบและ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นี้เองที่ยังทำให้มีการระบาดของปัญหาจากการบริโภคยาสูบ
และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง
๘. ปรากฏการณ์สำคัญในระยะเวลาที่ผ่านมา คือ
การใช้สื่อออนไลน์เพื่อโฆษณาทางตรงกับกลุ่มเด็กและเยาวชน ผลการวิจัยพบว่า
มีการเปิดเว็บไซต์จำหน่ายบุหรี่ผ่านอินเทอร์เน็ตที่เปรียบได้กับการเปิดตู้
บุหรี่โชว์สินค้าบุหรี่ผ่านทางออนไลน์จำนวนมาก
ทำให้ผู้ขายบุหรี่ได้โฆษณาสินค้าและซื้อขายง่ายขึ้น[๘] ในขณะที่
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการใช้สื่อออนไลน์ในอัตราที่เพิ่มขึ้น
เพื่อให้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งมิติด้านเวลาและสถานที่[๙]
๙. ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ยังพบความจงใจให้ตราสินค้าและชื่อองค์กรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่อง
ดื่มแอลกอฮอล์ปรากฏอยู่ในสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์
ด้วยการการทำกิจกรรม บริจาคสิ่งของหรือทุนสนับสนุนกิจกรรมด้านดนตรี กีฬา
งานเทศกาลต่างๆ
และมักอ้างว่าเป็นองค์การธุรกิจที่ดำเนินการโดยรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR
(Corporate Social Responsibility) แต่ในความจริงแล้ว
เป็นเพียงการใช้กลยุทธ์ในการเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ (Sponsorship)
เพื่อเพิ่มความถี่ในการพบเห็น ได้ยิน
และจดจำตราสินค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และชื่อองค์กรเท่า
นั้น
๑๐.
กลุ่มธุรกิจยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังจงใจใช้สื่อมวลชนโดยเฉพาะ
หนังสือพิมพ์ เป็นเครื่องมือในการเรียกร้อง คัดค้าน
หรือยับยั้งข้อเสนอเชิงนโยบายของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ตัวอย่างเช่น
การซื้อพื้นที่สื่อหนังสือพิมพ์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปรับเปลี่ยนระบบ
ภาษีสรรพสามิตสุรา[๑๐]
หรือการพาสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมการทำไร่ยาสูบและการซื้อหน้าหนังสือพิมพ์เสนอ
ผลดีของการทำไร่ยาสูบ
เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ชาวไร่ยาสูบออกมาคัดค้านร่างพระราชบัญญัติควบคุม
การบริโภคยาสูบฉบับใหม่ เป็นต้น
๑๑. ในประเทศออสเตรเลีย
และประเทศบราซิลมีการศึกษาเพื่อประเมินผลการกำก ับดูแลตัวเอง
(self-regulation) ของสื่อในการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แต่พบว่า
ไม่ได้ผล เนื่องจากพบการโฆษณาที่ละเมิดแนวทางปฏิบัติ
อีกทั้งไม่มีการดำเนินการลงโทษใดๆ จากการละเมิดนั้น[๑๑]
ในกรณีของประเทศไทย องค์กรวิชาชีพสื่อในปัจจุบัน
ก็ไม่สามารถกำกับดูแลกันเองได้ เพราะมีปัญหาจริยธรรมมากขึ้น
แม้จะมีความพยายามของสื่อมวลชนในการพัฒนาจริยธรรมของตนเอง
แต่การมีองค์กรสื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้นได้นำไปสู่ปัญหาจากผู้ประกอบการและผู้
ปฏิบัติ ประกอบกับการไม่มีเกณฑ์ด้านจริยธรรมที่ชัดเจน
การดำเนินธุรกิจสื่อแบบทุนนิยม และการบิดเบือนข้อเท็จจริง
กรณีสื่อที่เป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพก็ไม่สามารถควบคุมกันเองได้
กระบวนการตรวจสอบมักไม่ค่อยเคร่งครัด และยังมีระบบพรรคพวก ระบบอุปถัมภ์
และความเกรงใจระหว่างสื่อด้วยกัน[๑๒] อย่างไรก็ตาม
มีความจำเป็นที่ต้องจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของสื่อให้เกิดขึ้น
ถึงแม้การกำกับดูแลตัวเอง (Self-regulation) ของสื่อจะไม่ได้ผล
แต่ก็สามารถใช้วิธีการกำกับดูแลร่วม (co-regulation)
ตลอดจนการแสดงออกว่าจะไม่พึ่งพิงกลุ่มธุรกิจที่ผลิตสินค้าที่สร้างผลกระทบ
ต่อสุขภาพของสื่อมวลชน ดังเช่น การตัดสินใจของประธานกรรมการ บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด
ที่จะไม่รับโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนิตยสารของเครืออมรินทร์[๑๓]
ก็ถือเป็นรูปธรรมที่ควรผลักดันสนับสนุนให้เกิดมากขึ้น
๑๒. อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางวิชาการแสดงให้เห็นว่า
มีความพยายามในการร่วมมือกันขององค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม
และภาควิชาการ ในการรณรงค์ วิจัยและจัดทำเอกสารวิชาการ การเฝ้าระวัง
การเปิดโปงและให้ข้อมูลข่าวสารแก่สาธารณะ
ตลอดจนการทำความเข้าใจกับกลุ่มองค์กรวิชาชีพสื่อในประเด็นการสร้างสรรค์ผล
งานการโฆษณาและสื่อสารการตลาดภายใต้นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แต่ความยากลำบากในการดำเนินงานยังคงเกิดขึ้น
เนื่องด้วยกลุ่มธุรกิจยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความพยายามโฆษณาและ
สื่อสารการตลาดตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในทุกโอกาสและทุกช่องทาง
๑๓. กล่าวได้ว่า
อันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุข ภาวะและความเป็นอยู่ของสังคมโดยรวมซึ่งเกิดจาก
ผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นปัญหาที่เรียกว่า
โรคที่ระบาด โดยมีอุตสาหกรรมเป็นพาหะ (industrial epidemic)[๑๔] หมายถึง
ปัญหานี้ไม่ได้แพร่ขยายตามธรรมชาติ
แต่เป็นผลพวงจากการโฆษณาและการสื่อสารการตลาด
โดยมีสื่อมวลชนเป็นช่องทางและเครื่องมือในการสื่อสารผลิตภัณฑ์ยาสูบและ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเยาวชนผู้บริโภค ดังนั้น
การกำกับดูแลการทำงานของสื่อ รวมทั้งองค์กรวิชาชีพสื่อ
และผู้ประกอบกิจการสื่อ จึงมีจุดมุ่งหมายสำคัญ
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและลดการกระทำใดๆ ที่จะละเมิดสิทธิผู้บริโภค
โดยเฉพาะกับสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะของปัจเจกและสังคม
นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๑๔. การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยมีกฎหมายหลัก คือ
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่งให้ความสำคัญกับการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การควบคุมบริบทการดื่ม และการควบคุมการโฆษณา[๑๕]
มาตรการที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมการโฆษณาและการสื่อสารการตลาด คือ
หมวด ๔ เรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมาตรา ๓๐
เป็นมาตรการป้องกันการส่งเสริมการขาย เช่น
ห้ามขายโดยวิธีการลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
ห้ามขายโดยวิธีการให้หรือในลักษณะของการแจก แถม หรือแลกเปลี่ยน
เพื่อจูงใจให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อโดยทางตรงหรือทาง
อ้อม และมาตรา ๓๒ เป็นมาตรการป้องกันการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
และการแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่ออวดอ้างสรรพคุณ
หรือชักจูงใจให้ดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม อย่างไรก็ตาม
มาตรการนี้มีอุปสรรคสำคัญอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และเทคนิคใหม่ๆ
ในการทำการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งจากผู้ผลิตในประเทศและผู้ผลิตต่าง
ชาติ
๑๕. การควบ คุมผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับสากล
พบว่ามีการใช้มาตรการกำกับดูแลด้านการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดของภาครัฐ
โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น ประเภทของการสื่อสารการตลาด
ประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่องทางในการออกอากาศ เวลาในการออกอากาศ
หรือรูปแบบและเนื้อหาของโฆษณา[๑๖] มาตรการทางกฎหมายในองค์กรวิชาชีพสื่อ
เช่น กฎหมายด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในประเทศบัลแกเรีย
ห้ามการสื่อสารการตลาดทั้งทางตรงและทางอ้อมในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทุกประเภท[๑๗]
ในกรณีของการกำกับดูแลร่วมควบคู่กับการกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพ
พบการดำเนินการเฉพาะในประเทศอังกฤษ โดยมีตัวอย่างของแนวปฏิบัติ เช่น
ให้หลีกเลี่ยงการใช้เพลงในโฆษณาที่อยู่ในความนิยมของกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า
๑๘ ปี เป็นต้น[๑๘]
๑๖. การควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของประเทศไทย มีกฎหมายหลัก คือ
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๓๕
โดยมาตรการสำคัญในการจำกัดการโฆษณาและการส่งเสริมการขายทุกรูปแบบตลอด ๒๔
ชั่วโมง คือ มาตรา ๖-๗ เป็นมาตรการควบคุมการส่งเสริมการขาย การแลก การแจก
การแถมให้ ของผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือสิทธิอื่นใด สำหรับมาตรา ๘-๙
เป็นมาตรการจำกัดการโฆษณาและการสื่อสารการตลาด
ด้วยการสร้างเครื่องหมายเป็นตราสินค้า การใช้ตราสินค้ากับตราสินค้าอื่น
และการใช้ตราสินค้าร่วมกัน รวมถึงการโฆษณาแฝง อย่างไรก็ตาม
ยังมีปัญหาเรื่องความรู้ความเข้าใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบังคับใช้
ตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้าระวัง อย่างเท่าถึงและอย่างเท่าทัน เนื่องจาก
การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบมีการปรับรูปแบบและกลวิธีใน
การสื่อสารอยู่เสมอ
๑๗. ประเทศไทยได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบรรณในอนุสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบ
FCTC (The WHO Framework Convention on Tobacco Control)
ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๙]
อนุสัญญาฉบับนี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการต่อต้านการแทรกแซงของบริษัท
บุหรี่ข้ามชาติและมีผลในการจัดการการสื่อสารการตลาดของกลุ่มอุตสาหกรรมยาสูบ
ตามกรอบอนุสัญญาข้อ ๑๓ ในการห้ามมิให้มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบ
การส่งเสริมการขาย การให้การสนับสนุนโดยธุรกิจยาสูบเต็มรูปแบบ
(comprehensive ban) รวมถึงการห้ามโฆษณายาสูบข้ามพรมแดน[๒๐] และ ข้อ ๕.๓
ของอนุสัญญาควบคุมยาสูบเกี่ยวกับการป้องกันการแทรกแซงนโยบายโดยบริษัทบุหรี่
ระบุว่า
การทำกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทบุหรี่จะส่งผลเสียต่อการควบคุมยาสูบ
จึงกำหนดให้รัฐบาลประเทศต่างๆ
ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนในสังคมรู้ถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการทำ
กิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทบุหรี่
ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐรับหรือร่ วมกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท
บุหรี่ และห้ามบริษัทบุหรี่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสังคม
ปัญหาที่สำคัญ
๑๘. ผลการวิจัยเกี่ยวกับการปรับกลยุทธ์การโฆษณา
และการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ด้วยวิธีการโฆษณาแฝง (Indirect advertising) ภาพผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า
สัญลักษณ์และชื่อองค์กร ผ่านการให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ
โดยเฉพาะกิจกรรมดนตรี กีฬา และที่เกี่ยวกับสุขภาพ
เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่
หรือการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดโดยใช้สื่อออนไลน์และสื่อบุคคล เช่น
สาวเชียร์เบียร์ พริตตี้ เป็นต้น[๒๑] แสดงให้เห็นว่า
การดำเนินกิจกรรมที่อ้างว่าเป็น CSR (Corporate Social Responsibility)
นั้น เป็นการใช้ CSR
เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กรในการประชาสัมพันธ์ตราสินค้าและภาพพจน์
องค์กรมากกว่า การคำนึงถึงผลประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง
๑๙. นับจากวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบค ุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พ.ศ.๒๕๕๑ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.)
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายได้ฟ้องร้องและ
ดำเนินคดีกับผู้ประกอบการและร้านค้าที่กระทำการโฆษณาฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมาย
เป็นจำนวนมาก เช่น การใช้ป้ายไวนิล ตู้ไฟ
ที่มีข้อความหรือรูปภาพเชิญชวนให้ดื่ม
แต่ผู้ประกอบการก็ฟ้องร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญว่า
เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพของบุคคล[๒๒]
ทำให้ขั้นตอนการพิจารณาสอบสวนยืดเยื้อยาวนาน
และหากยังไม่มีการตัดสินจนถึงขั้นเป็นคดีแดง ผู้ประกอบการและร้านค้าต่างๆ
ก็ยังสามารถทำการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต่อไป
เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้มีการโฆษณาและสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์อย่างกว้างขวางต่อไป
๒๐. กลไกการกำกับดูแลผ่านองค์กรวิชาชีพต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลส ื่อ การโฆษณา และการสื่อสารการตลาด
ยังคงเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ไม่ลงลึกชัดเจน แม้จะปรากฏในมาตรการข้อ ๗๑ (๘)
ตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒
หมวดคุ้มครองผู้บริโภคที่ให้เน้นการปลูกฝังจริยธรรมของการเป็นสื่อมวลชนที่
ดี
และมีความรับผิดชอบต่อการโฆษณาและการส่งเสริมการขายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ทั้งยังไม่มีมาตรการกำกับดูแลเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เช่น (ร่าง) หลักเกณฑ์กำกับเนื้อหารายการในวิทยุและโทรทัศน์ของ กสทช.
ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๓๗ บัญญัติลักษณะของรายการที่ต้องห้ามไว้อย่างกว้างๆ
และเน้นเฉพาะเรื่องความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี
ลามกอนาจาร
ที่มีผลให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงเท่า
นั้น[๒๓] หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
๒๕๕๐ เพื่อกำกับดูแลและควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ท
ในส่วนของการกำกับดูแลและป้องปรามด้านเนื้อหา
สาระสำคัญของกฎหมายกำหนดความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลไว้อย่างคลุมเครือ
เช่น ข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
หรือมีลักษณะลามก[๒๔] ในกรณีของสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย
พบว่ามีจรรยาบรรณในเรื่องของการโฆษณาโดยไม่ระบุแบรนด์ (UNBRAND
ADVERTISING) ว่า
การโฆษณาที่มีลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความพยายามที่จะสร้างให้ประชาชน
เข้าใจผิดในสาระสำคัญ และขัด
หรือเลี่ยงต่อกฎหมายด้วยเจตนาอันเป็นการปฏิบัติละเมิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
โฆษณา แต่ยังคงจำกัดเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร[๒๕]
แนวทางการแก้ไขปัญหา
๒๑. พัฒนาข้อกำหนดจริยธรรม หร ือ Code of Ethic (COE) และแนวทางปฏิบัติ หรือ
Code of Conduct (COC)
เพื่อเป็นเครื่องมือกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพ (self regulation)
ในการผลิตสื่อ และการสื่อสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบและ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคู่กับกลไกการกำกับดูแลร่วม (co - regulation)
โดยองค์กรภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อ
เพื่อให้การกำกับดูแลสื่อมีประสิทธิภาพ เอื้อต่อการสื่อสารและสร้างสรรค์งาน
สามารถคุ้มครองประชาชนได้ ทั้งนี้ จะต้องครอบคลุมตามกฎหมาย
และช่องว่างทางกฎหมายของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พร้อมกำหนดบทลงโทษทางสังคม หรืออื่นๆ หากพบว่ามีการฝ่าฝืน
๒๒. พัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
เพื่อเสริมสร้างความรู้เท่าทันสื่อและทักษะการเฝ้าระวังการโฆษณาและการสื่อ
สารการตลาด
ทั้งการใช้ตราสินค้าและการใช้ชื่อบริษัทของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์
๒๓.
สนับสนุนระบบเฝ้าระวังการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบและ
เครื่องดื่ มแอลกอฮอล์ขององค์กรวิชาชีพสื่อ สถาบันวิชาการ ภาคประชาสังคม และ
องค์กรพัฒนาเอกชน และ โดยเฉพาะในขั้นตอนการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้มีการดำเนินการทางกฎหมาย
ประเด็นพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖
ขอให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พิจารณาเอกสารสมัชชาสุขภาพ ๖ / ร่างมติ ๕
การกำกับดูแลสื่อและการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์
|