แผนยุทธศาสตร์ ว่าด้วยการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต
๑. มูลค่าของการโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
การโฆษณายาสู่ผู้บริโภคในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๙ - ๒๕๕๒ มีมูลค่าสูงกว่า ๒.๕
พันล้านบาทต่อปี ส่วนการโฆษณาอาหารมีมูลค่าการโฆษณาสูงถึง ๑.๗ หมื่นล้านบาท
และมีมูลค่าการโฆษณาสูงกว่าปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ถึง ๑๒ เท่า[๑]
โดยเฉพาะมูลค่าการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ข้อมูลจากบริษัทผลิตสื่อโฆษณาบริษัทเดียว ในปี พ.ศ.๒๕๔๕
พบว่าการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีมูลค่าสูงถึง ๘๒๑ ล้านบาท[๒]
และขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น
ผ่านสื่อหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุท้องถิ่น เคเบิ้ลทีวี
โทรทัศน์ดาวเทียม และ อินเทอร์เนต ในปี พ.ศ.๒๕๕๓
วิทยุท้องถิ่นทั่วประเทศไทยมีมากกว่า ๗,๗๐๐ แห่ง และ
คาดการณ์ว่ามีจำนวนครัวเรือนมากกว่า ๑๒ ล้านครัวเรือนหรือประมาณเป็น ร้อยละ
๖๐ ของจำนวนครัวเรือนในประเทศไทยที่เข้าถึงสื่อเคเบิ้ลทีวี
โทรทัศน์ดาวเทียม
ทั้งนี้ประมาณการว่ามีเม็ดเงินโฆษณาผ่านเคเบิ้ลทีวีและดาวเทียมราว
๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี[๓,๔]
|