Sub Navigation Links

พิธีลงนามข้อตกลงร่วมกัน สิทธิมาตรา 12 และ เสวนา การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตอนที่ 1

* * *คำค้นหา: มาตรา12 พิธีลงนามการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย MOUมาตรา12 เสวนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย* * *
Facebook
download

เสวนา เรื่องการดูแลผู้ป้่วยระยะสุดท้าย โดย
รศ.นพ.พรเลิศ ฉัตรแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย
นางพรวรินทร์ นุตราวงศื พยาบาลวิชาชีพ ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

สช.ร่วมกับสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยร่วมลงนาม ไม่รับการรักษายื้อชีวิตตามสิทธิและเจตนารมณ์ของผู้ป่วย ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างญาติและแพทย์...

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย และสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญกระทรวงสาธารณสุข จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือเรื่องการส่งเสริมการใช้สิทธิตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ นายกสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การผลักดันเรื่องมาตรา 12 สิทธิการตาย อาจเพิ่งเกิดขึ้น แต่ในอดีตมีการกำหนดเรื่องสิทธิดังกล่าวโดยการเลือกสั่งลาด้วยตนเองมาก่อนแล้ว แค่ไม่มีกฎหมายมารองรับเท่านั้น แต่ในวันนี้มีกฎหมายมารองรับแล้ว เพื่อยืนยันว่าแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ไม่ได้ส่วนผิดต่อการสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างญาติและแพทย์ เนื่องจากเป็นเจตนารมณ์ของผู้ป่วยเอง

นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า การยื้อชีวิตด้วยการรับบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้าย เพื่อยืดการตายเป็นภาระอยู่ 4 ส่วนคือ 1. ตัวเอง คือ เป็นการทรมานร่างกาย ที่อาจทำให้เจ็บปวดมากกว่าเดิมของบางโรคที่อาการรุนแรง เพื่อยืดการตายเป็นภาระอยู่มารองรับเท่านั้นเช่น โรคมะเร็ง ที่ต้องใช้ยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งที่ผ่านมาจากการพบปะแพทย์ในวงการ พบมีผู้ป่วยหลายรายเลือกที่จะฆ่าตัวตายแทนที่จะทนใช้ยาแก้ปวด 2. เป็นภาระแก่ญาติ ที่ต้องเฝ้าดูแลและแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา 3. โรงพยาบาล ทำให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ต้องบริการรับภาระดูแล โดยที่อาจจะไม่ได้เป็นความประสงค์ของผู้ป่วย ซึ่งทราบกันดีอยู่แล้วว่าบุคลากรทางการแพทย์นั้นมีน้อย และ 4. ประเทศชาติ หมายถึงภาระของการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ต้องเบียดบังการรักษาผู้ป่วยรายอื่นหลายส่วน ทำให้ประเทศชาติต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น ซึ่งหากมองเฉพาะสัดส่วนผู้สูงอายุก็ถือว่ามีจำนวนไม่น้อย

“สำหรับประเทศไทย เป็นประเทศที่ยังไม่มีการศึกษาวิจัย ค่ารักษาพยาบาลตั้งแต่การเกิดจนตาย เฉลี่ยต่อรายที่ชัดเจน แต่ที่สหรัฐอเมริกา มีการศึกษาแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายด้านการรักษาผู้ป่วยใน 6 เดือนสุดท้าย พบว่ามีอัตราสูงถึง 50% ของงบบริการสาธารณสุขที่ใช้ทั้งชีวิต ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ไม่คุ้ม การมีสิทธิที่จะเลือกทำหนังสือเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพื่อยืดการตาย ก็ถือว่าเป็นสิทธิอันพึงประสงค์ที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้อย่าง” นพ.วิชัย กล่าว

ด้าน รศ.สิวลี ศิริไล ภาคีสมาชิกราชบัณฑิต ประเภทปรัชญา สาขาจริยศาสตร์ กล่าวว่า สาระสำคัญของการทำหนังสือนั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่าความตายคืออะไร แต่อยู่ที่คนอยู่จะให้อะไรคนตาย ซึ่งขณะนี้เป็นแค่การให้สิทธิเท่านั้น หากอยู่ในวาระสุดท้ายก็แค่ขอใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาที่เป็นแค่การยื้อชีวิต เพื่อลดความบลำบากใจในการตัดสินใจของแพทย์ ว่าจะปฏิบัติอย่างไร พร้อมทั้งลดความลำบากใจของญาติที่บางคนต้องการรักษาต่อ บางคนต้องการให้ยุติ แต่การแสดเจตนารมณ์ช่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งโดยหากจริยศาสตร์ ก็ไม่ถือว่าผิด และยังมีกฏหมายมารองรับก็จะยิ่งดีขึ้นต่อการตัดสินใจของแพทย์ด้วย ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงปรารถนาที่จะตายด้วยการได้อยู่ใกล้ชิดกับคนรักมากกว่าการใช้ชีวิตแบบว้าเหว่ในโรงพยาบาล เพราะสามารถช่วยกระชับความสัมพันธ์ได้ ขณะที่แพทย์และพยาบาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ที่มีส่วนร่วมดูแลก็ต้องมีการสื่อสารในการบอกลาที่ดี ด้วยเพื่อให้ผู้ป่วยสบายใจ.

ไทยรัฐ

login to rate

ระดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่:  2nd Jun 12

จำนวนผู้ฟัง:  2067

แสดงความคิดเห็น:  0

เพิ่มเป็นเสียงที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   มาตรา 12

แจ้งเสียงไม่เหมาะสม

เพิ่มเป็นเสียงที่ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ให้เพื่อน


(สามารถนำโค๊ดนี้ไปแสดงที่เว็บไซต์หรือ MySpace,Friendster,Blogger ของคุณได้!)