Sub Navigation Links

รายงานข่าวสุขภาวะ ภาคเหนือ สานใจสานพลัง 24 ตุลาคม 2562 ตอน แผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ : อิสระ บุญอนันต์

* * *อิสระ_บุญอนันต์ รายงานข่าวสุขภาวะภาคเหนือ รายงานข่าวสุขภาวะ_สานใจสานพลัง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทรัพยากรน้ำ สทนช. จงกล_จงวิไลเกษม การบริหารจัดการ รับฟังความคิดเห็น* * *
Facebook
download

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3136

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3229

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3088

โดย: webmaster

จำนวนผู้ฟัง: 3039

จังหวัดเชียงราย - สทนช. จับมือทีมที่ปรึกษา จัดระดมความคิดเห็นทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ หวังเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ แก้ไขปัญหาน้ำในทุกมิติอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

ดร.จงกล จงวิไลเกษม ที่ปรึกษาสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 (กลุ่มย่อยครั้งที่ 1) โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 ที่โรงแรมเอ็มบูทีค รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย เพื่อนำเสนอ (ร่าง) แผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 10 ลุ่มน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยมี คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ชชและเอกชน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงเหนือเข้าร่วม

สทนช. เล็งเห็น ความจำเป็นในการศึกษา วางแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย 10 ลุ่มน้ำ ได้แก่ลุ่มน้ำสาละวิน โขงเหนือ ปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยา ท่าจีน สะแกกรัง และป่าสัก โดยร่วมมือกับ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อ บูรณาการแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแนวนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ลุ่มน้ำต่างๆ เป็นลุ่มน้ำที่มีปัญหาตลอดช่วงระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ทั้งผลกระทบที่มาจากน้ำมือมนุษย์ อาทิ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคโดยขาดการจัดการที่เป็นระบบและที่เหมาะสม การบุกรุกทางน้ำธรรมชาติ การตัดไม้ทำลายป่า และผลจากปัจจัยทางธรรมชาติ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

สำหรับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ที่ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 ระบุถึงแนวทางการบริหารทรัพยากรน้ำในภาคเหนือ ครอบคลุม 4 แนวทางหลัก ดังนี้ 1.การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ และการจัดการการใช้ประโยชน์ในเขตต้นน้ำ 2.การพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มน้ำต้นทุนสำหรับเมืองหลัก พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและชุมชนที่มีรายได้ต่ำ 3.บรรเทาอุทกภัยน้ำหลากฉับพลันที่ลาดเชิงเขา ดินโคลนถล่ม โดยเน้นการเตือนภัย ปรับตัวและเผชิญเหตุ และ 4.การวางแผนระยะยาว สร้างความสมดุลการใช้ที่ดินต้นน้ำและท้ายน้ำ ทั้งนี้ สทนช. ได้ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดงานเปิดตัวการดำเนินงานในระดับภูมิภาคของโครงการด้านน้ำ ภายใต้ความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai-German Climate Programme-Water: TGCP-Water) โดยมีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนหน่วยงานราชการ และผู้แทนชุมชนในลุ่มน้ำต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งเร่งรัดการดำเนินการทันทีในโครงการที่มีความพร้อม อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งและปัญหาคุณภาพน้ำที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ สทนช. ได้ชี้แจงแนวทางการจัด ทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับลุ่มน้ำ และแผนปฏิบัติการประจำปี พร้อมทั้งให้ผู้ร่วมประชุม ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับลุ่มน้ำ ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ 20 ปี และร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระดับลุ่มน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 - 2564 ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงเหนืออีกด้วย

login to rate

ระดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่:  11th Nov 19

จำนวนผู้ฟัง:  1044

แสดงความคิดเห็น:  0

เพิ่มเป็นเสียงที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   รายงานข่าวสุขภาวะ

แจ้งเสียงไม่เหมาะสม

เพิ่มเป็นเสียงที่ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ให้เพื่อน


(สามารถนำโค๊ดนี้ไปแสดงที่เว็บไซต์หรือ MySpace,Friendster,Blogger ของคุณได้!)