รายงานข่าวสุขภาวะ ภาคอีสาน สานใจ สานพลัง 17 กรกฎาคม 2556 (อุบลราชธานี) ตอน พูดจาหาทางออก : นิชรา บุญตะนัยคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ ปคอป. ดำเนินการจัดเวทีประชาเสวนาทั่วประเทศ 108 เวที ภายใต้ชื่อ พูดจาหาทางออกประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสะท้อนปัญหาต้นเหตุความขัดแย้ง และหาข้อเสนอที่สร้างสรรค์ในการยุติค?วามขัดแย้งเพื่อเป็นทางออกของประเทศ ในประเด็นปัญหาความขัดแย้ง 9 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ความเข้าใจประชาธิปไตยที่แตกต่าง 2.ความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรมของประเทศไทย 3.ตุลาการภิวัฒน์ การแทรงแซงองค์กรอิสระ 4.การรัฐประหาร และบทบาทของทหารในการจัดการความขัดแย้ง 5.ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม 6.การขยายตัวของสื่อการเมืองและสื่อบุคคล 7.การกล่าวอ้างสถาบันกษัตริย์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง 8.สังคมขาดองค์ความรู้ในการจัดการความขัดแย้งและสันติวิธี 9.ความขัดแย้งแบบเดิมพันสูง ซึ่งจำนวนเวที และผู้เข้าร่วมเวทีในแต่ละจังหวัดมากน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในพื้นที่ ในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี กำหนดจัดเวที จำนวน 3 เวที โดยเวทีแรก จัดขึ้นในวันที่ 2 ก.ค 56 ณ ม.อุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วมเวทีประมาณ 800 คน , เวทีที่ 2 วันที่ 8 ก.ค. ณ ม.ราชธานี มีผู้เข้าร่วมเวทประมาณ 600 คน และเวทีที่ 3 ที่ ม.ราชภัฎอุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วมประมาณ 800 คน โดยภาพรวมส่วนใหญ่ของความคิดเห็นและแนวทางแก้ปัญหา พอสรุปคร่าวๆ ได้ ดังนี้ ปัญหา.ความแตกต่างทางความคิดด้านการเมือง แบ่งกลุ่มแบ่งฝ่าย /ทางแก้ต้องเปิดใจยอมรับความคิดทางการเมืองที่แตกต่าง ปัญหาการใช้ความรุนแรง ใช้อารมณ์ ไม่เคารพกฎ กติกา ของสังคม ทางแก้ต้องเคารพกฎหมาย หาก ฝ่าฝืนจับ-ปรับ จริงจัง ปัญหาระบบการเมืองไทยไม่มีคุณธรรม มีการซื้อเสียง ระบบอุปภัมภ์ การฉ้อฉล /ทางแก้คือการให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ... ปัญหาการกระจายอำนาจไม่จริง กระจายงาน แต่ไม่กระจายเงิน ทางแก้ต้องมีความพร้อมค่อนกระจายงานลงมาพร้อมๆกับงบประมาณและบุคลากร ...ปัญหาด้านสื่อมวลชนในปัจจุบัน สื่อมีมาก แต่ไม่ค่อยมีคุณภาพ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม สื่อไม่มีความเป็นกลาง ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองและนายทุน สื่อเลือกข้าง ยั่วยุ สร้างความแตกแยก แนวทางแก้ไข ต้องพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพ มีอุดมการณ์และสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง และต้องมีมาตรการทางกฎหมายกับสื่อที่นำเสนอข่าวสารผิดพลาดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ซึ่งข้อเสนอแนะเหล่านี้คณะผู้จัดทำเวที จะสรุปข้อคิดเห็นภาพรวมในทุกประเด็น ส่งให้กับ คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ดำเนินการ ต่อไป
|